หน้าเว็บ

รับซ่อมระบบถุงลมนิรภัย ในราคาถูก cal:087 596 6543

วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

อยากซ่อมถุงลมนิรภัย แต่มีงบจำกัด !

ระบบถุงลมนิรภัยสามารถซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิมครับ  เราเปลี่ยนสิ่งที่ควรเปลี่นครับและใช้ส่วนที่ใช้งานได้ครับ  โครงเหล็ก และถุงผ้า เป็นส่วนที่เรานำกลับมาใช้ใหม่ เราเปลี่ยนส่วนฝาที่ฉีกขาดเสียใหม่ เปลี่ยนอุปกรณ์ จุดการทำงานของถุงลมใหม่  กล่องควบคุมนำกลับมาซ่อมเพื่อให้มันกลับมาทำงานได้เหมือนเดิมครับ  




ดังนั้นเมื่อถุงลมนิรภัยทำงานแล้ว ถุงผ้าจะออกมา  เข็มขัดจะล็อค   อย่าตัดถุงผ้า และเข็มขัดนิรภัยครับ เท่านี้คุณก็สามารถนำถุงลมเก่าที่เสียหายกลับมาให้เราซ่อม และสามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้งครับ





 แล้วจะรู้ได้ยังงัยว่า  " เมื่อซ่อมแล้วจะกลับมาใช้งานได้หรือไม่ "   เมื่อประกอบอุปกรณ์กลับเข้าไปแล้ว เมื่อคุณเสียบกุญแจสตาร์ท สังเกตุดูสัญลักษณ์ไฟเตือน ถุงลมนิรภัย จะต้องดับลง นั้นหมายความว่ รถได้ตรวจสอบความพร้อมในการใช้งานเหมือนเดิมแล้วครับ



ถุงลมนิรภัยทำงานอย่างไร

นอกจากเข็มขัดนิรภัยที่ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากการขับรถยนต์แล้ว อุปกรณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในรถยนต์แทบทุกคนก็คืออุปกรณ์ที่เรียกว่า “ถุงลมนิรภัย” หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “airbag” ซึ่งสามารถลดแรงกระแทกระหว่างลำตัวและศีรษะกับพวงมาลัยที่เกิดขึ้นจากการเบรคอย่างกระทันหันได้ จนกระทั่งผู้ผลิตรถยนต์ต้องเพิ่มจำนวนถุงลมนิรภัยไว้ในตำแหน่งต่างๆ เพื่อเป็นสิ่งยืนยันในความปลอดภัยภายในรถยนต์ที่ผลิตขึ้น

ถุงลมนิรภัยทำมาจากถุงไนลอนหรือโพลีเอไมด์ที่บรรจุแก๊สไนโตรเจนไว้ภายใน โดยทั่วไปจะบรรจุแก๊สได้ประมาณ 60-70 ลิตร ซึ่งจะพองตัวอย่างรวดเร็วเมื่อมีแรงกระแทกเกิดขึ้น หลายคนอาจสงสัยว่าแก๊สปริมาณมากขนาดนั้นถูกเก็บไว้ตรงส่วนไหนของรถยนต์ แต่ในความจริงแล้วแก๊สไนโตรเจนที่ใช้บรรจุในถุงไม่ได้ถูกเก็บไว้ในรูปของแก๊ส แต่อยู่ในรูปของของแข็งที่ชื่อว่าโซเดียมเอไซด์ (sodium azide, NaN3) ที่บรรจุไว้ในส่วนที่เรียกว่า inflator ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาสลายตัวกลายเป็นโลหะโซเดียมและแก๊สไนโตรเจนเมื่อได้รับความร้อนจากตัวตรวจจับการชน (crash sensor)





ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้โซเดียมเอไซด์สลายตัวไปเป็นแก๊สไนโตรเจน จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับความร้อนประมาณ 300 องศาเซลเซียสที่แปลงมาจากสัญญาณไฟฟ้าจากตัวตรวจจับการชน แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมีโลหะโซเดียม (Na) ซึ่งเป็นอันตรายรวมอยู่ด้วย เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากโลหะโซเดียมซึ่งจะเกิดการระเบิดเมื่อสัมผัสกับความชื้นจึงมีการเพิ่มสารเคมีอีกตัวหนึ่งเข้าไปทำปฏิกิริยากับโซเดียมที่เกิดขึ้นในทันที สารเคมีดังกล่าวก็คือโพแทสเซียมไนเตรท (potassium nitrate, KNO3) ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นโพแทสเซียมออกไซด์และโซเดียมออกไซด์ที่มีอันตรายน้อยลง 


การทำงานของถุงลมนิรภัย ก็มีหลายจุดที่ทำงานร่วมกัน โดยหลักก็จะมี “เซนเซอร์ที่ตัวรถ” โดยมากมักติดอยู่กับหลังกันชนหน้า กันชนหลัง ด้านข้าง มันจะคอยจับแรงกระแทก เมื่อมีการชนเกิดขึ้นในขั้นรุนแรงระดับหนึ่ง เรียกว่าน่าจะเป็นอันตรายต่อผู้คนในรถแล้ว มันจะส่งสัญญาณให้ถุงลมทำงาน โดยถุงลมก็จะเป็นวัสดุคล้าย ๆ ยางสังเคราะห์หนา ๆ สีขาว ปกติมันก็พับอยู่ดีหรอก แต่พอ “มีงาน” ขึ้นมา เซนเซอร์สั่งให้มีการ “พองตัว” เกิดขึ้น จะมีชุดแก๊สด้านใน เมื่อเซนเซอร์สั่งมา มันจะมีคอนเดนเซอร์จุดแก๊ส สร้างแรงดันให้ถุงลมพองตัวอย่างรวดเร็วในเสี้ยววินาที หลังจากเกิดเหตุแล้ว ถุงลมจะฟีบลงเอง แรงดันแก๊สในถุงลมจะถูกปล่อยออก เพื่อให้คนในรถสามารถออกไปจากรถได้โดยไม่ติดถุงลม หรือให้มันไม่เกะกะในการช่วยเหลือเอาคนออกจากรถ (กรณีคนหมดสติ บาดเจ็บสาหัส) นี่คือการทำงานคร่าว ๆ ของระบบถุงลมนิรภัย

ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ถุงลมอาจจะไม่ทำงานนะคร๊า !!!
 เหตุมันก็มีอยู่ว่า “คนที่ใช้รถ ขาดความรู้ความเข้าใจ ในการใช้รถ” อย่าไปโทษรถครับ โทษตัวคุณเองนั่นแหละ สาเหตุในการทำให้ถุงลมนิรภัย กลายเป็นถุงลมหาภัย ก็มีแยกย่อยเป็นอีกหลายอย่าง อันดับแรกก็คือ “ผู้ขับและผู้โดยสารตอนหน้า ไม่ยอมคาดเข็มขัดนิรภัย” เป็นนิสัยของพี่ไทย ไม่รู้ว่ายังไง แก้ไขไม่ได้ ก็คงต้องปล่อยตามบุญตามกรรม ลำพังไม่คาดเข็มขัดนิรภัย มันก็อันตรายมากอยู่แล้ว สิ่งที่ส่งผลร้ายกับถุงลมนิรภัย ก็คือ “แรงปะทะบวก” เมื่อเกิดการชน แรงที่ชน จะส่งให้ท่านลอยไปข้างหน้าอย่างไร้ทิศทาง และถุงลมเอง มันต้องพองตัวอย่างรวดเร็วในเสี้ยววินาที ตัวคนก็จะวิ่งเข้าไปบวกกับแรงที่ถุงลมพองตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการกระแทกที่รุนแรงทวีคูณ ทำให้เสียชีวิตได้ง่าย ต้นเหตุมันมาอย่างนี้จ๊ะ





วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

ระบบถุงลมนิรภัยในรถยนต์  เป็นอุปกรณ์ที่มีเพื่อใช้ป้องกันผู้ขับขี่ และ ผู้โดยสารจากการเกิด
อุบัติเหตุ  ระบบและอุปกรณ์ทั้งหมดจะแตกออก  หลังการเกิดอุบัติเหตุระบบและอุปกรณ์ทั้งหมดจะแตก
และเสียหาย ระบบจะไม่สามารถกลับมาใช้งานได้อีก  ต้องทำการเปลี่ยน หรือ ซ่อมแซมเพื่อให้ระบบพร้อมกลับ
มาทำงานได้อีกครั้ง







           เราขอเสนอบริการที่จะ ซ่อมแซม และเปลี่ยน ระบบถุงลมนิรภัย ( แอร์แบ็ค ) ทั้งระบบ ให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม สวยเหมือนเดิม ในราคาที่คุณจะพอใจ ให้ถุงลมนิรภัยของรถคุณกลับมาเหมือนและใกล้เคียงของใหม่  ที่สำคัญคือ หากเกิดอุบัติเหตุอีก ระบบถุงลมนิรภัยของคุณจะทำงาน ปกป้องคุณจากอุบัติเหต เมื่อเดิม








“หลักการทำงานของถุงลมนิรภัยหรือแอร์แบค(Airbag)  ประกอบด้วยตัวเซ็นเซอร์อยู่ที่แชสซีด้านหน้ารถ จะกี่จุดนั้นขึ้นอยู่กับยี่ห้อ ถ้าได้รับแรงกระแทก เซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณไปที่กล่องควบคุม  ประเมินผลว่าควรจะจุดระเบิดแอร์แบคหรือไม่ ซึ่งแอร์แบคจะทำงานเมื่อมีแรงปะทะตั้งแต่ 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง ขึ้นไป

แอร์แบคทำงานโดยจุดตัวเองด้วยความร้อนจากตัวตรวจจับการชน แก๊สไนโตรเจนที่อยู่บริเวณพวงมาลัยถูกสูบใส่แอร์แบค เกิดปฏิกิริยาคล้ายการระเบิด แล้วภายในเสี้ยววินาทีจะพองตัวอย่างรวดเร็ว  เพื่อรับแรงกระแทกระหว่างลำตัวและหัวของคนขับ หลังจากนั้นแอร์แบคจะยุบตัวลงทันที

กรณีที่เกิดการชนอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักในห้องเครื่อง รถจะไม่สามารถขับต่อไปได้ และหากชนด้วยความเร็วไม่มากแต่แอร์แบคทำงาน ไม่แนะนำให้ขับรถต่อ เพราะถึงแม้จะขับต่อไปได้ แต่จากความเสียหายอาจทำให้ฟังก์ชั่นต่างๆของรถบกพร่องได้ 

ปัจจุบันรถยนต์ติดตั้งระบบความปลอดภัยมากขึ้น มีระบบความปลอดภัยทั้งก่อนและหลังการเกิดอุบัติเหตุ (Active และ Passive Safety) รถหลายรุ่นที่เพิ่มจำนวนแอร์แบค และถึงแม้ว่าแอร์แบคจะสามารถป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุได้ แต่การป้องกันที่ดีที่สุดก็คงต้องเกิดจากการขับขี่อย่างปลอดภัยและเคารพกฎจราจร โดยเฉพาะในหน้าฝนยิ่งควรใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้นและขับขี่ในอัตราความเร็วกฎหมายกำหนด